วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

ความซื่อสัตย์(integriry)

เป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ  น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร
.....
การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้
ระดับความซื่อสัตย์
1.
ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
     . ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิด
     .
หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
     .
ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
     .
ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
2.
ระดับตำกว่ามาตรฐาน
     . ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
     .
ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
     .
ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
3.
ระดับมาตรฐานที่กำหนด
     . รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
     .
ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
     .
ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
     .
ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
4.
สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
     . ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
     .
ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
     .
ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
     .
ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
5.
สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
     . แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
     .
ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงาน
     .
นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใครทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด
...ประโยชน์และคุณค่าของความซื่อสัตย์...
                            1. ส่งเสริมให้เกิดความเมตตาธรรม
                            2. ปราศจากความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน
                            3. เป็นพื้นฐานในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันในสังคม
                            4. ส่งเสริมความรักและการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
                            5. เป็นพฤติกรรมที่ปราศจากความหวาดระแวง
                            6. เป็นแนวทางในการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
                            7. นำไปสู่ความรักและเคารพในเกียรติของตนเองและบุคคลอื่น
                            8. เป็นการเคารพสิทธิ์ในทรัพย์สินหรือความรู้สึกคนอื่น
                           9. ช่วยรักษาปกป้องผลประโยชน์ของตนเองหรือองค์กรอย่างตรงไปตรงมา
                          10. ช่วยสร้างความอบอุ่นแก่ตนเอง ครอบครัว และสังคม
                          11. ช่วยส่งเสริมความเป็นระเบียบและมีวินัยในตนเองและสังคม
                          12. ช่วยสร้างความจริงใจและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้

สุภาษิต คำพังเพย เกี่ยวกับ ความซื่อสัตย์
                                                  1. ซื่อกินไม่หมด คดกินไม่นาน                                                  
                                                 
2. เสียชีพอย่าเสียสัตย์                                                   
                                                 
3. กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา  
                                       4.
คดในข้องอในกระดูก 
                                       5.
สิบแปดมงกุฎ 
                                       6.
ฉ้อราษฎร์บังหลวง 
                                       7.
ต่อหน้ามะพลับลับหลังตะโก 
                                       8.
หน้าเนื้อใจเสือ  
                                       9.
ผักชีโรยหน้า 
                                        10.
ปากว่าตาขยิบ

กิจกรรมปลูกฝังจิตสำนึก"ความซื่อสัตย์"
.....1. นำเสนอตัวอย่างที่ดีอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเคยชินหรือเกิดความสงสัย และสามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมจึงทำเช่นนั้น เมื่อเปรียบเทียบกับพฤติกรรมตรงกันข้ามจะได้รับผลอย่างไร
.....2. ยกย่องสรรเสริญให้เป็นขวัญและกำลังใจกับผู้ประกอบความดี ประพฤติปฏิบัติตนด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
.....3. แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดีไม่มีอคติเมื่อผู้เรียนประพฤติไม่ถูกต้องเพื่อจะได้ปรับตนใหม่ให้เป็นไปตามวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม
.....4. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนมีประสบการณ์ตรง เช่น พูดคุย สัมภาษณ์บุคคลตัวอย่างในท้องถิ่น
.....5. ให้เด็กหรือผู้เรียนเรียนรู้ตามตัวอย่างจากสื่อต่าง เช่น นิทาน ละคร  ภาพยนตร์  สารคดี ชีวิตจริงของบุคคลที่ประพฤติตนอย่างซื่อสัตย์สุจริต แล้ววิเคราะห์และสรุปผลด้วยตนเอง ให้ทำหลายๆ ครั้งอย่างสม่ำเสมอในสถานการณ์ที่แตกต่างกันทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว
.....6. ส่งเสริมให้เด็กหรือผู้เรียนได้วิเคราะห์วิจารณ์เหตุการณ์หรือสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นแตกต่างกันหลาย ครั้ง ทั้งการวิเคราะห์เป็นกลุ่มและการวิเคราะห์ด้วยตนเอง เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจเชิงเหตุและผลทั้งด้านดีและไม่ดี และทั้งที่หาข้อยุติหรืออาจยังหาข้อยุติไม่ได้
.....7. ให้ได้แสดงเจตนารมณ์เป็นรายบุคคลหรือเป็นทีมที่จะประพฤติปฏิบัติตนในกรอบของความซื่อสัตย์สุจริต  คุณธรรมจริยธรรม เช่น การมีคติพจน์ประจำใจ  การสร้างสัญลักษณ์ของพฤติกรรม  ฯลฯ

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ฟังก์ชัน

ความหมายของฟังก์ชัน

บทนิยาม ฟังก์ชัน คือ ความสัมพันธ์ซึ่งสำหรับคู่อันดับสองคู่อันดับใดๆในความสัมพันธ์
ถ้ามีสมาชิกตัวหน้าเท่ากันแล้ว สมาชิกตัวหลังต้องเท่ากัน

ตัวอย่างที่ 1 จงพิจารณาความสัมพันธ์ r ต่อไปนี้เป็นฟังก์ชันหรือไม่
1. r = { ( 1,1 ) , ( -1,1 ) , ( 2, 2 ) , ( -2, 2 ) , (3, 3 ) , ( -3, 3 ) }
2. r = { ( -2, 1 ) , ( -1, 0 ) , ( 1, 1 ) , ( 2, 1 ) , ( 1, -1 ) }
วิธีทำ
1 ในความสัมพันธ์ r จะพบว่าไม่มีสองคู่อันดับใดที่มีสมาชิกตัวหน้าเท่ากัน แล้วสมาชิกตัวหลังไม่เท่ากัน
ดังนั้น r จึงเป็นฟังก์ชัน

2 ความสัมพันธ์ r มีคู่อันดับ ( 1, 1 ) r และ ( 1, -1 ) r ซึ่งเป็นคู่อันดับที่มีสมาชิกตัวหน้าเท่ากัน ( คือ 1 ) แต่สมาชิกตัวหลังไม่เท่ากัน
ดังนั้น r จึงไม่เป็นฟังก์ชัน

หมายเหตุ ถ้าความสัมพันธ์ที่กำหนดให้อยู่ในรูปบอกเงื่อนไข เช่น
r = {(x , y) R R | 2x + y = 1}
การตรวจสอบดูว่าความสัมพันธ์เป็นฟังก์ชันหรือไม่ โดยไม่ต้องแจกแจงคู่อันดับ ทำได้ดังนี้

วิธีที่ 1 ถ้า r เป็นความสัมพันธ์ซึ่งประกอบด้วยคู่อันดับ (x , y) และมีเงื่อนไข r(x , y) แล้ว
ให้นำเงื่อนไข r(x , y) มาเขียนใหม่โดยเขียน y ในรูปของ x
1. ถ้าแต่ละค่าของ x หาค่า y ได้เพียงค่าเดียว สรุปได้ว่า r เป็นฟังก์ชัน
2. ถ้าแต่ละค่าของ x ที่ทำให้หาค่า y ได้มากกว่า 1 ค่า สรุปได้ว่า r ไม่เป็นฟังก์ชัน

ตัวอย่างที่ 2 กำหนดความสัมพันธ์ r = {(x , y) R R | 2x + y = 1 } r เป็นฟังก์ชัหรือไม่
 วิธีทำ   เงื่อนไข r คือ 2x + y = 1
       เขียน y ในรูปของ x จะได้ y = 1 - 2x
จะพบว่าแต่ละค่าของ x จะให้ค่า y เพียงค่าเดียวเท่านั้น
       แสดงว่า r เป็นฟังก์ชัน ###
  วิธีที่ 2 เมื่อกำหนดความสัมพันธ์ r ซึ่งประกอบด้วยคู่อันดับ (x , y) และมีเงื่อนไข r(x , y) สมมุติ (x , y) r และ (x , z) r ดังนั้นได้เงื่อนไข r(x , y) และ r(x , z)
1. ถ้าสามารถแสดงได้ว่า y = z ทุกๆ x ใดๆ แล้ว r เป็นฟังก์ชัน
2. ถ้ามีกรณีที่ y z แล้ว r จะไม่เป็นฟังก์ชัน

ตัวอย่างที่ 3 กำหนดความสัมพันธ์ r = {(x , y) R R | 5x + y = 2} แล้ว r เป็นฟังก์ชันหรือไม่
วิธีทำ   ให้ (x , y) r และ (x , z) r ดังนั้น

                     5x + y = 2 ……………………………… ( 1 )

                     5x + z = 2 ……………………………… ( 2 )

       ดังนั้น         5x + y = 5x + z

       แสดงว่า         y = z

       เพราะฉะนั้น r เป็นฟังก์ชัน ###